ตรีผลาแคปซูล ( อุทัยประสิทธิ์ )

ราคา 200 บ.
ปริมาณ 100 แคปซูล

สรรพคุณตรีผลา
เป็นยาระบาย ล้างสารพิษจากสารตกค้าง
ขับเมือกมัน และขับลมในลำไส้

วิธีทาน

ตรีผลาแปลตามรากศัพท์จะได้ คำว่า “ตรี” แปลว่า “สาม” คำว่า “ผลา (ผล)”  คือผลไม้ 3 อย่าง ได้แก่ สมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม

1.สมอพิเภก : ผลรูปกลมหรือรี แข็ง กว้างประมาณ 1.5 – 2 ซม. ยาว 2.5 – 3 ซม. มีสัน 5 สัน ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ดเดี่ยว แข็ง ผลอ่อนรสเปรี้ยว ผลแก่รสเปรี้ยวฝาดหวาน (ฝาดสุขุม) เมล็ดในรสฝาด

2. สมอไทย : ผลรูปทรงกลม หรือรูปไข่ กว้าง 1 – 2.5 ซม. ยาว 2 – 4 ซม. ผลสดสีเขียวอมเหลืองหรือบางครั้งมีสีแดงปน ผิวเรียบ มีสัน 5 สัน เมล็ดเดี่ยว แข็ง รูปรี ขนาดใหญ่ ผลแห้งสีดำเข้ม ผิวย่น ผลอ่อน รสเปรี้ยว ผลแก่มีรสฝาดติดเปรี้ยว ขม ไม่มีกลิ่น เนื้อผลรสฝาดเปรี้ยว เมื่อชิมจะมีรสชาติขมเล็กน้อยในช่วงแรกและจะมีรสหวานตามมา เมล็ดมีรสขม

3.มะขามป้อม : ผลสดกลม มีเนื้อ ผิวเรียบ ใส ฉ่ำน้ำ เมื่อดิบสีเขียวออกเหลือง ผลสุกสีเหลืองออกน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 2 เซนติเมตร มีเส้นพาดตามความยาวของลูก 6 เส้น เมล็ดกลมแข็งมี 1 เมล็ด เนื้อผลมีรสฝาด เปรี้ยว ขม หวาน รับประทานเป็นอาหารได้ ทำให้ชุ่มคอ รับประทานน้ำตามไป ทำให้มีรสหวานดีขึ้น
( ในผลมะขามป้อม 1 ผลมีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่ากับส้ม 2 ลูก )

สมุนไพรทั้ง 3 อย่างนี้ จะช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย และใช้รักษาสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย ซึ่งตัวยาทั้งสามจะช่วยควบคุมพิษข้างเคียงของกันและกัน เช่น รสเปรี้ยวของลูกสมอพิเภกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย จึงต้องใช้ลูกสมอไทยและลูกมะขามป้อมซึ่งมีรสฝาดและขมไปช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้องและลดอาการท้องมวน เป็นต้น โดยในตำรายาไทยก็เรียกยาที่ได้จากการรวมสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้ตามชื่อของอินเดียว่า พิกัดตรีผลา

ข้อควรระวั
– สตรีในช่วงมีประจำเดือนควรงดการรับประทานตรีผลาเพราะอาจจะทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติผู้ที่
– เป็นโรคหัวใจไม่ควรรับประทานรวมถึงผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
– อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้น และมีอาการท้องเสีย แต่หากมีอาการข้างเคียงตามที่กล่าวมารุนแรงและมีอาการต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์


งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ตรีผลามีผลในการป้องกัน และบรรเทาอาการที่เกิดจากลำไส้เล็กของหนูที่ถูกทำลายด้วยยา methotrexate ได้  แต่ ตำรับยาตรีผลาในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน (1:2:4) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ได้รับยา methotrexate อย่างเดียวจะให้ผลดีกว่าตำรับยาตรีผลาในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทั้งนี้เนื่องจากมีการเพิ่มปริมาณของสมอพิเภกและมะขามป้อม ซึ่งมีฤทธิ์ดีในการต้านอนุมูลอิสระ

สารสกัดเมทานอล 70% ของผลสมอไทย (Terminalia chebula Retz) เมื่อทดสอบฤทธิ์การแบ่งตัวของ breast cancer lines (MCF-7, S115) prostate cell lines (PC-3, NT1A) และ human osteosarcuma cell พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์แรงในการทำให้ cell มะเร็งเกิด necrosis และตาย ขนาดที่ฆ่าเซลล์ได้คือ 400 ไมโครกรัม/ซีซี การแยกหาสารออกฤทธิ์ โดยใช้ ATP assay ช่วย  ได้สารออกฤทธิ์ Chebulonic acid และ ellagic acid เมื่อทดสอบฤทธิ์เปรียบเทียบกับสารกลุ่ม phenolic acid อื่น นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทดลอง ฤทธิ์ต้าน lipid peroxidation พบว่ายับยั้งได้ 89% และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้ 92%

จากการทดลองหนูแรทกลุ่มที่ได้รับกรดเชบูลินิคจากผลสมอ  สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยความเย็น แอสไพริน แอลกอฮอล์ และการผูกกระเพราะอาหารส่วน  กรดเชบูลินิคในสมอไทยสามารถลดสภาพความเป็นกรด ในส่วนของ free acidity และเพิ่มการหลั่งสารเคลือบ (mucin) ได้ 59.75% และการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า กรดเชบูลินิคสามารถยับยั้งเอนไซม์ hydrogen potassium ATPase ซึ่งเป็น enzyme ที่ทำหน้าที่ผลิตกรด โดยค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ครึ่งหนึ่ง

สาร Penta-O-galloyl-β-D-glucose (PGG) เป็นสารที่พบปริมาณสูงในสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ได้แก่ ส้มผด (Rhus chinensis ) โบตั๋น (Paeonia suffruticosa ) เมเปิ้ลชานตุง (Acer truncatum ) และสมอไทย (Terminalia chebula ) พบว่าสาร PPG ที่พบในสมอไทย มีฤทธิ์ในการต้านการเกิดการอักเสบโดยการลดการทำงานของนิวโทรฟิล

** นิวโทรฟิลเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่พบมากที่สุดในกระแสโลหิต เป็นเซลล์ชนิดแรกที่ออกจากกระแสโลหิตไปยังบริเวณที่มีการติดเชื้อหรือได้รับการอักเสบ มีบทบาทสำคัญในการจับกินสิ่งแปลกปลอม


ที่มาของข้อมูล

https://www.disthai.com/ตรีผลา

https://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n97.php

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *